หังโจว ซูโจว อู่ซี อาณาบริเวณบรรพ์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

“บนฟากฟ้ามีสรวงสรรค์ บนผืนปฐพีมีซูโจวและหังโจว” เป็นวรรคที่มีชื่อเสียงมากในกวีบทหนึ่งโดย หยางเซ่าหยิง (Yang Chaoying ค.ศ.1271-1368) กวีสมัยราชวงศ์หยวน บทกวีนี้ได้วรรณนาถึงความเป็นเลื่องลือของเมืองหังโจว ซูโจว อูซี และเส้าซิง นับแต่สมัยราชวงศ์ซ้องใต้เป็นต้นมา และเมืองที่กล่าวมานี้เป็นเมืองที่มีคลองจักรพรรดิตัดผ่าน
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ราชสำนักประเทศจีนพ่ายแพ้ต่อ “ชนป่าเถื่อนทางตอนเหนือ” และได้ถอยร่นลงมายังเมืองนูเจิน (Nuzhen) ในปี ค.ศ.1138 มีการสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ซึ่งมีชื่อว่า อณาจักรซ้องใต้ขึ้น โดยมีเมืองหังโจวเป็น “ฐานชั่วคราว” (หรือที่เรียกว่าซิงไจ้ Xingzai) เมืองหังโจวในฐานะของใจกลางของอณาจักรจีนในยุตนี้ได้เจริญและมีพัฒนาการ เนื่องจากการอพยพข้าวของข้าราชการนักปราชญ์มากมาย เมืองนี้เป็นเมืองที่ปราการป้องกันการบุกรุกของปฏิปักษ์นับแต่สมัยราชวงศ์ถัง
คลองจักรพรรดินี้มีที่มาจากสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ค.ศ.770-256 ก่อนปีคริสตกาลนับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา คลองสายนี้ได้รับการขยายจนมีความยาวกว่า 1,100 ไมล์ (1,800 กิโลเมตร) โดยตัดผ่านมณฑลเจ่อเจียนและเจียนสู ไปยังเมืองปักกิ่งและเชื่อมแม่น้ำสี่สายคือ เซียนทังเจียง (Qiantangjian) หยางจือเจียง (Yangzijiang) ไหวเหอ (Huaihe) และฮวงโห (Huanghe) กษัตริย์แห่งรัฐอู่ได้มีพระราชโองการให้ขุดคลองนี้จากเมืองซูโจวไปถึงแม่น้ำแยงซีเพื่อเตรียมรับศึกสงคราม คลองดังกล่าวสร้างเสร็จในปี 495 ก่อนคริสต์ศักราช และมีความยาว 53 ไมล์ (85 กิโลเมตร)
เพียงอีกไม่กี่ปีต่อมา คลองสายนี้ได้ต่อยาวออกโดยเชื่อมเมืองหยางโจวเข้ากับแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำไหวเหอทางทางเหนือ ตำนานหนึ่งกล่าวว่า จักรพรรดิหยางตี้แห่งราชวงศ์สุย ผู้ครองราชย์ระหว่างปีค.ศ.605-618 ได้มีพระราชโองการให้เชื่อมคลองเข้ากับเมืองหยางโจว โดยทรงเชื่อว่าคลองนี้จะทำให้พระองค์ได้ชมผกาสวรรค์ที่มีชื่อว่า ดอกช่วง (qiong) อย่างไรก็ดี ดอกไม้นี้ได้เหี่ยวเฉาไปก่อนที่พระองค์จะได้ยล แต่พระองค์ก็ได้ทรงบัญชาการให้ขุดคลองนี้ต่อโดยเชื่อมเมืองลั่วหยาง ซึ่งเป็นราชธานีในขณะนั้นเข้ากับเมืองปักกิ่งทางตอนเหนือ และแม่น้ำไหวเหอทางตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี่ยังทรงดำริให้ขุดคลองนี้เชื่องแม่น้ำเจินเจียงกับเมืองหังโจว การขุดคลองซึ่งเป็นเครือข่ายยาวราว 1,700 ไมล์ (2,700 กิโลเมตร) ในครั้งนี้ส่งผลให้ลั่วหยางมีทางติดต่อกับพื้นที่ทางทางเหนือและภาคใต้ซึ่งมีสภาพเศรษฐกิจที่ดียิ่ง เครื่องราชบรรณาการต่างๆ ได้รับการขนส่งมายังเมืองลั่วหยางโดยอาศัยเส้นทางนี้ การขนส่งผลิตผลต่างๆก็ล้วนแต่ใช้คลองสายนี้ เช่น ธัญพืช (ซึ่งมีพื้นที่เจินเจียง-เจียงสูเป็นแหล่งเก็บเกี่ยวข้าวถึงปีละสามครั้ง) ผ้าไหม เครื่องเคลือบ และผลผลิตอื่นๆซึ่งราชสำนักต้องการ
ราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1271-1368) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ย้ายราชธานีมายังปักกิ่ง ได้สั่งการขุดเครือข่ายคลองนี้เพื่อเพิ่มเชื่อราชธานีเข้ากับเมืองหังโจวโดยตรงการขุดคลองในครั้งนี้ได้ลดระยะที่ต้องเดินทางระหว่างเมืองทั้งสองถึง 620-1,100 ไมล์ (1,000-1,800 กิโลเมตร) สมัยปัจจุบันมีการศึกษาความเป้นไปได้ในการพัฒนาคลองสายนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวคลองสายนี้มิได้เป็นเพียงจุดเยี่ยมชมที่น่าสนใจ หากยังเป็นที่ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถลงเรือชมคลองได้อีกด้วย เป็นโอกาสที่จะได้เห็นชีวิตผู้คนอีกรูปแบบหนึ่ง
เมืองหังโจวได้ถูกกล่าวไว้ในบทกวีหลายบทที่แต่งขึ้นสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) เช่นในงานกวีของไป๋จูยี่ (Bai Juyi ค.ศ.772-846) กวีผู้นี้ได้กลายเป็นผู้ว่าราชการเมืองในปีค.ศ.882 และเป็นผู้สั่งการสร้างเขื่อกั้นน้ำที่ ทะเลสาบตะวันตก Wake Lake หรือซีหู (Xihu) เขื่อนนี้มีชื่อว่าไป๋ตี้ (Baidi) จากชื่อของผู้ว่าฯไป๋จูยี่ กวีหญิง หลี่ซิงเจ้า ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวปี ค.ศ.1084-1151 ได้เขียนร้อยกรองขึ้นหลายบทด้วยแรงผลักดันที่ได้จากความงามอันหลากสีสันของเมืองหังโจว หังโจวได้กลายเป็นเมืองที่เลื่องลือก้องโลกในสมัยราชวงศ์ซ้องไต้ (ค.ศ 1127-1279) สมัยนี้พสกนิกรของเมืองหังโจวได้เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งน้อยกว่าห้าแสนคนเป็นจำนวนกว่าล้านคน และทำให้เมืองหังโจวเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก อย่างไรก็ดีเมืองหังโจวถูกทำลายเสียกายจนเกือบหมดสิ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในช่วงเหตุการณ์กบฏไท่ผิง เมืองหังโจวในสมัยปัจจุบันแทบจะไม่มีร่องรอยของเมืองที่เคยมีนามห้องโลกหลงเหลืออยู่เลย ที่มา : http://merrybrighttravel.com

No comments:

Post a Comment